10. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง
เกษม ก้อนทอง (2549 : 135) สื่อหลายมิตินั้น เป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับข้อความหลายมิติ hypertext นี้มานานหลายสิบปีแล้ว โดย แวนนิวาร์ บุช Vannevar Bush เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเขากล่าวว่าน่าจะมีเครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่อง ความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสามารถสืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้หลายๆข้อมูล ในเวลาเดียวกันเหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่างๆได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน
จากแนวคิดดังกล่าว เท็ด เนลสัน และดั๊ก เอนเจลบาร์ต ได้นำแนวคิดนี้มาขยายเป็นรูปเป็นร่างขึ้น โดยการเขียนบทความหรือเนื้อหาต่างๆ กระโดดข้ามไปมาได้ในลักษณะที่ไม่เรียงลำดับเป็นเส้นตรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า ไฮเพอร์เท็กซ์หรือข้อความหลายมิติ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วย แนวคิดเริ่มแรกของสื่อหลายมิติคือความต้องการเครื่องมือช่วยในการคิดหรือการจำที่ไม่ต้องเรียงลำดับ และสามารถคิดได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน
ข้อความหลายมิติ Hypertextหรือข้อความหลายมิติ คือ เทคโนโลยีของการอ่านและการเขียน ที่ไม่เรียงลำดับเนื้อหา โดยเสนอในลักษณะของข้อความที่เป็นตัวอักษร หรือภาพกราฟิก อย่างง่าย ที่มีการเชื่อมโยงถึงกัน เรียกว่า “ จุดต่อ ” nodeโดยผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่จากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อหนึ่งได้ โดยการเชื่อมโยงจุดต่อเหล่านั้น
ข้อความหลายมิติ เป็นระบบย่อยของสื่อหลายมิติ คือ เป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกัน ในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจตอนใดก็ได้ โดยไม่ต้องเรียงลำดับลักษณะข้อความหลายมิติอาจเปรียบเทียบได้เสมือนกับบัตร หรือแผ่นฟิล์มใสหลายๆ แผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้นๆในแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้
Petr Stengl,Ivan Jelinek(2006)(http://School.obec.go.th./sup_br3/t_1.htm.)
สื่อหลายมิติแบบปรับตัว (Adaptive Hypermedia) หมายถึง ความสัมพันธ์กัน ระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งปกติสื่อหลายมิติจะนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่เป็นเนื้อหา ลิงค์ หรือสื่ออื่นๆ ที่ออกแบบสำหรับผู้เรียนทุกคน แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันในการรับข้อมูลจากสื่อหลายมิติ ดังนั้นสื่อหลายมิติแบบปรับตัวจึงเป็นการผสมผสานระหว่างสื่อหลายมิติและระบบการสอนที่ฉลาดในการตอบสนองผู้เรียนแต่ละคน โดยสื่อหลายมิติแบบปรับตัวเป็นการพยายามที่จะพัฒนารูปแบบ (Model) ให้สามารถปรับตัวและตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคล เช่น ระบบจะเลือกข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนแต่ละคนในแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ เช่น ความรู้ ประสบการณ์ รูปแบบการเรียนรู้ หรือข้อมูลอ้างอิงอื่นๆ และสามารถปรับเปลี่ยนระบบให้ตอบสนองตรงตามความต้องการสำหรับผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถค้นหาข้อมูลสารสนเทศตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
สื่อหลายมิติที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพ ได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1) รูปแบบหลัก (domain model -DM) 2) รูปแบบผู้เรียน (student model -SM) 3) รูปแบบการปรับตัว (Adaptive Model - AM ) โดยผ่านการติดต่อระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์หรือระบบ (Interface) ผ่านแบบฟอร์มจากเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorerเป็นต้น
สื่อหลายมิติ Hypermedia มีนักวิชิการหลายท่านได้ให้ความหมายและลักษณะของ หลายมิติ ไว้ดังนี้
น้ำทิพย์ วิภาวิน (2542 : 53 ) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่นๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่างๆ ได้ทั้ง ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
วิเศษศักดิ์ โครตอาชา (2542 : 53 ) กล่าวว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์ ลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
กิดานันท์ มลิทอง (2540 : ) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการนำเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวได้หลายรูปแบบมากกว่าเดิม
การนำเสนอเนื้อหาแบบข้อความหลายมิติ และสื่อหลายมิติเป็นการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะของกรอบความคิดแบบใยแมงมุม ซึ่งเป็นกรอบความคิดที่เชื่อว่าจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับวิธีที่มนุษย์จัดระบบความคิดภายในจิต ดังนั้น ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติจึงทำให้สามารถคัดลอกและจำลองเครือข่ายโยงใยความจำของมนุษย์ได้ การใช้ข้อความหลายมิติในการเรียนการสอนจึงช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน
สรุปได้ว่า สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน คือ สื่อหลายมิติที่ได้มีการพัฒนามาจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยนำมาประยุกต์ให้เข้ากับการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นบทเรียนที่ประกอบด้วยเนื้อหา มีการใช้คุณลักษณะของสื่อหลายมิติในการเชื่อมโยงหัวข้อต่างๆ เป็นต้น
วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553
9. สื่อประสม คืออะไร
ในการใช้สื่อการสอนต่างๆเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหรือประเภทใดก็ตาม ผู้สอนอาจจะใช้สื่อครั้งละเพียงอย่างเดียว หรืออาจจะใช้สื่อร่วมกันหลายๆอย่างในรูปแบบของ “ สื่อประสม ” (Multimedia) ก็ได้ ในการใช้สื่อประสมนี้เป็นการนำสื่อประเภทต่างๆมาใช้ร่วมกัน โดยอาจเป็นการใช้กับผู้เรียนกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือในการศึกษารายบุคคล การใช้สื่อประสมนี้โดยทั่วไป แล้วจะใช้แต่ละอย่างเป็นขั้นตอนไป แต่ในบางครั้งก็อาจใช้สื่อหลายชนิดพร้อมกันได้ ในปัจจุบันได้มีการนำวัสดุมาผลิตเป็นชุดสื่อประสม โดยผลิตขึ้นตามขั้นตอนการใช้ของระบบการสอนโดยจัดเป็น “ ชุดการสอน ” (Teaching Package) สำหรับให้ผู้สอนใช้สอนแต่ละวิชาและเป็น “ ชุดการเรียน ” (Learning Package) ของแต่ละวิชาสำหรับผู้เรียนให้สามารถใช้เรียนได้ด้วยตนเอง
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2533 : 14) ให้ความหมายว่า สื่อประสม เป็นการนำสื่อการสอนหายอย่างมาสัมพันธ์กันเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ในลักษณะที่สื่อแต่ละชิ้นส่งเสริมสนับสนุนกันและกัน
อีริคสัน (Erickson. 2533 : 14) ได้แสดงความหมายว่า สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลายๆอย่างมาใช้ร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์ มีคุณค่าและส่งเสริมซึ่งกันและกัน สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อเร้าความสนใจ ในขณะที่อีกอย่างหนึ่ง ใช้เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหา และอีกชนิดหนึ่งอาจใช้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งและป้องกันการเข้าใจความหมายผิดๆ การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้ค้นพบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีการศึกษาและการศึกษา (18 – 19) ได้ให้ความหมายว่า สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วย เพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ และเสียงจากความหมาย ของคำว่า สื่อประสม นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งสื่อประสมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
สื่อประสม(Multimedia 1) เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่น นำวีดีทัศน์มาสอนประกอบการบรรยายของผู้สอน โดยมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย หรือการใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน การใช้สื่อประสมประเภทนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันและมีลักษณะเป็น “ สื่อหลายแบบ ”
สื่อประสม(Multimedia 2) เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสารสนเทศหรืการผลิต เพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรและเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ โดยผู้ที่ใช้มีการโต้ตอบกับสื่อโดยตรง
สรุปได้ว่า สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบัน มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในการนำข้อมูลทั้ง ตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว แบบวีดีทัศน์ และเสียง
ในการใช้สื่อการสอนต่างๆเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหรือประเภทใดก็ตาม ผู้สอนอาจจะใช้สื่อครั้งละเพียงอย่างเดียว หรืออาจจะใช้สื่อร่วมกันหลายๆอย่างในรูปแบบของ “ สื่อประสม ” (Multimedia) ก็ได้ ในการใช้สื่อประสมนี้เป็นการนำสื่อประเภทต่างๆมาใช้ร่วมกัน โดยอาจเป็นการใช้กับผู้เรียนกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือในการศึกษารายบุคคล การใช้สื่อประสมนี้โดยทั่วไป แล้วจะใช้แต่ละอย่างเป็นขั้นตอนไป แต่ในบางครั้งก็อาจใช้สื่อหลายชนิดพร้อมกันได้ ในปัจจุบันได้มีการนำวัสดุมาผลิตเป็นชุดสื่อประสม โดยผลิตขึ้นตามขั้นตอนการใช้ของระบบการสอนโดยจัดเป็น “ ชุดการสอน ” (Teaching Package) สำหรับให้ผู้สอนใช้สอนแต่ละวิชาและเป็น “ ชุดการเรียน ” (Learning Package) ของแต่ละวิชาสำหรับผู้เรียนให้สามารถใช้เรียนได้ด้วยตนเอง
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2533 : 14) ให้ความหมายว่า สื่อประสม เป็นการนำสื่อการสอนหายอย่างมาสัมพันธ์กันเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ในลักษณะที่สื่อแต่ละชิ้นส่งเสริมสนับสนุนกันและกัน
อีริคสัน (Erickson. 2533 : 14) ได้แสดงความหมายว่า สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลายๆอย่างมาใช้ร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์ มีคุณค่าและส่งเสริมซึ่งกันและกัน สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อเร้าความสนใจ ในขณะที่อีกอย่างหนึ่ง ใช้เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหา และอีกชนิดหนึ่งอาจใช้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งและป้องกันการเข้าใจความหมายผิดๆ การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้ค้นพบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีการศึกษาและการศึกษา (18 – 19) ได้ให้ความหมายว่า สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วย เพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ และเสียงจากความหมาย ของคำว่า สื่อประสม นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งสื่อประสมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
สื่อประสม(Multimedia 1) เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่น นำวีดีทัศน์มาสอนประกอบการบรรยายของผู้สอน โดยมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย หรือการใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน การใช้สื่อประสมประเภทนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันและมีลักษณะเป็น “ สื่อหลายแบบ ”
สื่อประสม(Multimedia 2) เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสารสนเทศหรืการผลิต เพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรและเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ โดยผู้ที่ใช้มีการโต้ตอบกับสื่อโดยตรง
สรุปได้ว่า สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบัน มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในการนำข้อมูลทั้ง ตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว แบบวีดีทัศน์ และเสียง
8. สื่อการสอน คืออะไร
สื่อการสอนนับว่าเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอน นับตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้ การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจความหมาย ของเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกับที่ผู้สอนต้องการ ไม่ว่าสื่อนั้นจะเป็นสื่อในรูปแบบใดก็ตาม ล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น ในการใช้สื่อการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะเฉพาะ และคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิด เพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสอน และสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อด้วย
เปรื่อง กุมุท (2533 : 8) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2533 : 8) ได้ให้ทัศนะว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุสิ่งสิ้นเปลือง อุปกรณ์เครื่องมือที่ไม่ผุผังได้ง่าย และวิธีการ กิจกรรม ละคร เกม การทดลอง ฯลฯ ที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม และทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อธิพร ศรียมก (2533 : 8) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง อะไรก็ได้ ที่ไม่ใช้ครูพูดปากเปล่าเพียงอย่างเดียว ที่ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างน่าสนใจสนุกตื่นเต้น และทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526 : 4) ได้ให้คำจำกัดความของ สื่อการสอน หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ ซึ่งครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
คณะนิสิตปริญญาโท,มศว.ประสานมิตร (2519) ได้ให้คำจำกัดความว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับการถ่ายทอด หรือนำความรู้ หรือประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
บราวน์ และคนอื่นๆ (Brown and Others,2533 : 8) ได้ให้ความหมายว่า สื่อการสอน ได้แก่ อุปกรณ์ทั้งหลายที่ช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้มีความหมายรวมถึง กิจกรรมต่างๆที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือนั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดงบทบาท นาฏการ การสาธิต การทดลองตลอดจนการสัมภาษณ์ และการสำรวจ เป็นต้น
สรุปได้ว่า “ สื่อการสอน ” หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้จากผู้สอน หรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เป็นสิ่งที่ช่วยอธิบายและขยายเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น ทำให้การเรียนการสอนสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนของครูที่ตั้งไว้
สื่อการสอนนับว่าเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอน นับตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้ การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจความหมาย ของเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกับที่ผู้สอนต้องการ ไม่ว่าสื่อนั้นจะเป็นสื่อในรูปแบบใดก็ตาม ล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น ในการใช้สื่อการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะเฉพาะ และคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิด เพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสอน และสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อด้วย
เปรื่อง กุมุท (2533 : 8) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2533 : 8) ได้ให้ทัศนะว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุสิ่งสิ้นเปลือง อุปกรณ์เครื่องมือที่ไม่ผุผังได้ง่าย และวิธีการ กิจกรรม ละคร เกม การทดลอง ฯลฯ ที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม และทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อธิพร ศรียมก (2533 : 8) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง อะไรก็ได้ ที่ไม่ใช้ครูพูดปากเปล่าเพียงอย่างเดียว ที่ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างน่าสนใจสนุกตื่นเต้น และทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526 : 4) ได้ให้คำจำกัดความของ สื่อการสอน หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ ซึ่งครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
คณะนิสิตปริญญาโท,มศว.ประสานมิตร (2519) ได้ให้คำจำกัดความว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับการถ่ายทอด หรือนำความรู้ หรือประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
บราวน์ และคนอื่นๆ (Brown and Others,2533 : 8) ได้ให้ความหมายว่า สื่อการสอน ได้แก่ อุปกรณ์ทั้งหลายที่ช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้มีความหมายรวมถึง กิจกรรมต่างๆที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือนั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดงบทบาท นาฏการ การสาธิต การทดลองตลอดจนการสัมภาษณ์ และการสำรวจ เป็นต้น
สรุปได้ว่า “ สื่อการสอน ” หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้จากผู้สอน หรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เป็นสิ่งที่ช่วยอธิบายและขยายเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น ทำให้การเรียนการสอนสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนของครูที่ตั้งไว้
7. เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษา ประกอบด้วย
1.เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ระบบวีดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand)วีดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่ จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสาร เพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและการประมวลผลคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคม เข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษา จำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น
4. การศึกษาทางไกล เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในการจัดรูปแบบการศึกษาทางไกล โดยให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถสื่อสารกันผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ทันที
5. เครือข่ายกรศึกษา เป็นการแบ่งหรือจัดกลุ่มเครือข่ายเพื่อการศึกษาเพื่อให้ครู อาจารย์ และผู้เรียน มีโอกาสใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อการแสวงหาความรู้บนโลกที่ไร้พรมแดน เช่น การบริการรับ – ส่งไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ การเผยแพร่และค้นหาข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (world wide web : www) โดยกลุ่มเครือข่ายของมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ที่ดูแลโดยทบวงมหาวิทยาลัย ส่วนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษาจะมีเครือข่ายสคูลเน็ต (School Net) ดูแลโดยเนคเทค เป็นการส่งเสริมและขยายโอกาส ในการเรียนรู้ของนักเรียนและประชาชน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้สารสนเทศ
6. การใช้งานในห้องสมุด ห้องสมุดในทุกสถาบันการศึกษา ได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการเสริมสร้างบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลบริการยืม – คืน ทั้งสื่อที่เป็น หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสารและนิตยสาร นอกจากนี้ยังสามารถสืบค้นรายการหนังสือผ่านเว็บไซต์
7. การใช้งานห้องปฏิบัติการในการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์จะต้องมีการฝึกปฏิบัติ จึงต้องมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ไว้ให้บริการ เช่น นักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จะมีการฝึกเขียนโปรแกรมหรือสอบผ่านเครื่องในห้องที่สาขาวิชากำหนดหรือใช้ปฏิบัติการ เป็นต้น
8. การใช้งานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักศึกษา การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลการเรียน ล้วนแต่สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาให้สามารถสืบค้นหรือแสดงผลสารสนเทศภายในสถาบันได้
9. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะสื่อหลายมิติบรรจุลงแผ่นซีดี ดีวีดี หรือนำเสนอบนเว็บไซต์บนทางอินเทอร์เน็ต
10. การใช้เครื่องวิชวลไลเซอร์ (Visualizer) เพื่อเสนอเนื้อหาบทเรียนจากสิ่งพิมพ์ และแผ่นโปร่งใสแทนการใช้เครื่องฉายภาพทึบแสงและเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ทั้งยังสามารถใช้เป็นกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวภายในห้องเรียนได้ด้วย
11. การใช้เครื่องแอลซีดี (LCD) ถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนจากคอมพิวเตอร์ขึ้นจอภาพขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถเห็นได้อย่างทั่วถึงภายในห้อง
12. การเรียนในลักษณะอีเลิร์นนิงแบบประสานเวลา และไม่ประสานเวลา
สรุปได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รับความสนใจและมีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก ในปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่ การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยน และใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ และให้เกิดความสะดวกในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษา ประกอบด้วย
1.เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ระบบวีดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand)วีดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่ จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสาร เพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและการประมวลผลคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคม เข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษา จำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น
4. การศึกษาทางไกล เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในการจัดรูปแบบการศึกษาทางไกล โดยให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถสื่อสารกันผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ทันที
5. เครือข่ายกรศึกษา เป็นการแบ่งหรือจัดกลุ่มเครือข่ายเพื่อการศึกษาเพื่อให้ครู อาจารย์ และผู้เรียน มีโอกาสใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อการแสวงหาความรู้บนโลกที่ไร้พรมแดน เช่น การบริการรับ – ส่งไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ การเผยแพร่และค้นหาข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (world wide web : www) โดยกลุ่มเครือข่ายของมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ที่ดูแลโดยทบวงมหาวิทยาลัย ส่วนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษาจะมีเครือข่ายสคูลเน็ต (School Net) ดูแลโดยเนคเทค เป็นการส่งเสริมและขยายโอกาส ในการเรียนรู้ของนักเรียนและประชาชน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้สารสนเทศ
6. การใช้งานในห้องสมุด ห้องสมุดในทุกสถาบันการศึกษา ได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการเสริมสร้างบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลบริการยืม – คืน ทั้งสื่อที่เป็น หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสารและนิตยสาร นอกจากนี้ยังสามารถสืบค้นรายการหนังสือผ่านเว็บไซต์
7. การใช้งานห้องปฏิบัติการในการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์จะต้องมีการฝึกปฏิบัติ จึงต้องมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ไว้ให้บริการ เช่น นักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จะมีการฝึกเขียนโปรแกรมหรือสอบผ่านเครื่องในห้องที่สาขาวิชากำหนดหรือใช้ปฏิบัติการ เป็นต้น
8. การใช้งานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักศึกษา การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลการเรียน ล้วนแต่สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาให้สามารถสืบค้นหรือแสดงผลสารสนเทศภายในสถาบันได้
9. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะสื่อหลายมิติบรรจุลงแผ่นซีดี ดีวีดี หรือนำเสนอบนเว็บไซต์บนทางอินเทอร์เน็ต
10. การใช้เครื่องวิชวลไลเซอร์ (Visualizer) เพื่อเสนอเนื้อหาบทเรียนจากสิ่งพิมพ์ และแผ่นโปร่งใสแทนการใช้เครื่องฉายภาพทึบแสงและเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ทั้งยังสามารถใช้เป็นกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวภายในห้องเรียนได้ด้วย
11. การใช้เครื่องแอลซีดี (LCD) ถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนจากคอมพิวเตอร์ขึ้นจอภาพขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถเห็นได้อย่างทั่วถึงภายในห้อง
12. การเรียนในลักษณะอีเลิร์นนิงแบบประสานเวลา และไม่ประสานเวลา
สรุปได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รับความสนใจและมีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก ในปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่ การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยน และใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ และให้เกิดความสะดวกในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากยิ่งขึ้น
6. เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้งาน ที่เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสาน ระหว่างเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อช่วยในการสื่อสาร และการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ (2542 : 6) หมายถึง เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูลข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ ) ที่ถูกกล่าว่าจะมี ผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด
ดังนั้น การจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้ การบริหาร จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัทก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง จะเห็นไดว่า บริษัทหรือองค์กรใหญ่จำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านการจัดระบบสารสนเทศ ปัจจุบันในโลกของธุรกิจ มีธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ไอที ได้เป็นศาสตร์ที่ได้รับความสนใจและมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบันและต่อไปในอนาคต
วีระศักดิ์ องอาจ (http ://teacher.skw.ac.th) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศยังรวมถึง เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบ การให้บริการ การใช้และการดูแลข้อมูลด้วย
(วารสารเทคโน – ทับแก้ว ฉ.2) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการ จุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
สรุปได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเครื่องมือ อุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการรับส่งข้อมูล ข่าวสาร และมัลติมีเดีย เกี่ยวกับความรู้โดยผ่านกระบวนการประมวลเพื่อช่วยในการแก้ปัญหา ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น และเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการติดต่อการทำงานด้วย
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้งาน ที่เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสาน ระหว่างเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อช่วยในการสื่อสาร และการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ (2542 : 6) หมายถึง เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูลข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ ) ที่ถูกกล่าว่าจะมี ผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด
ดังนั้น การจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้ การบริหาร จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัทก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง จะเห็นไดว่า บริษัทหรือองค์กรใหญ่จำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านการจัดระบบสารสนเทศ ปัจจุบันในโลกของธุรกิจ มีธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ไอที ได้เป็นศาสตร์ที่ได้รับความสนใจและมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบันและต่อไปในอนาคต
วีระศักดิ์ องอาจ (http ://teacher.skw.ac.th) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศยังรวมถึง เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบ การให้บริการ การใช้และการดูแลข้อมูลด้วย
(วารสารเทคโน – ทับแก้ว ฉ.2) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการ จุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
สรุปได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเครื่องมือ อุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการรับส่งข้อมูล ข่าวสาร และมัลติมีเดีย เกี่ยวกับความรู้โดยผ่านกระบวนการประมวลเพื่อช่วยในการแก้ปัญหา ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น และเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการติดต่อการทำงานด้วย
5. เทคโนโลยี หมายถึงอะไร
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ process เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ต่างๆ ที่ได้รวบรวมไว้เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติโดยเชื่อว่า เป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต product หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้ กระบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต process and product เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
Technologe มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คือ Texere หมายถึง to weave หรือ to construct ซึ่งไม่เกี่ยวกับเครื่องจักรอย่างที่คิดกันในปัจจุบัน แต่หมายถึง practical art ที่ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วย
บราวน์ (Brown) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
เดล (Dale 1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลองเครื่องมือและกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลองและได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
วีระศักดิ์ สอนอาจ (http://teacher.skw.ac.th) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ก็เพื่อเข้าใจธรรมชาติกฎเกณฑ์ต่างๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นความหมายที่กว้างขวาง
ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539 : 25) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของ กระบวนการหรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
สุทิพย์ กาญจนพันธุ์ (2541 : ) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิธีการอย่างมีระบบในการวางแผน การประยุกต์ใช้ และการประเมินการเรียนการสอนทั้งระบบ โดยให้ความสำคัญต่อ ทั้งด้านเครื่องมือ ทรัพยากรมนุษย์ และปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ เพื่อจะได้รูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2541 : ) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี คือ วิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้บรรลุผล
เทคโนโลยี เป็นกระบวนการ แนวความคิด แนวทาง วิธีการในการคิดกระทำสิ่งใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานด้านต่างๆให้ดียิ่งขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มากยิ่งขึ้น
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ process เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ต่างๆ ที่ได้รวบรวมไว้เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติโดยเชื่อว่า เป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต product หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้ กระบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต process and product เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
Technologe มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คือ Texere หมายถึง to weave หรือ to construct ซึ่งไม่เกี่ยวกับเครื่องจักรอย่างที่คิดกันในปัจจุบัน แต่หมายถึง practical art ที่ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วย
บราวน์ (Brown) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
เดล (Dale 1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลองเครื่องมือและกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลองและได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
วีระศักดิ์ สอนอาจ (http://teacher.skw.ac.th) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ก็เพื่อเข้าใจธรรมชาติกฎเกณฑ์ต่างๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นความหมายที่กว้างขวาง
ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539 : 25) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของ กระบวนการหรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
สุทิพย์ กาญจนพันธุ์ (2541 : ) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิธีการอย่างมีระบบในการวางแผน การประยุกต์ใช้ และการประเมินการเรียนการสอนทั้งระบบ โดยให้ความสำคัญต่อ ทั้งด้านเครื่องมือ ทรัพยากรมนุษย์ และปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ เพื่อจะได้รูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2541 : ) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี คือ วิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้บรรลุผล
เทคโนโลยี เป็นกระบวนการ แนวความคิด แนวทาง วิธีการในการคิดกระทำสิ่งใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานด้านต่างๆให้ดียิ่งขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มากยิ่งขึ้น
4. นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร
ในวงการหรือทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้ปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม หรือมุ่งจะให้งานมีประสิทธิภาพสูงก็เรียกได้ว่า เป็นนวัตกรรมของวงการนั้นๆ เช่น วงการศึกษาได้นำเอามาใช้ เรียกว่า “ นวัตกรรมทางการศึกษา ” Educational Innovation
เปรื่อง กุมุท (2542 : 15) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับลักษณะ นวัตกรรมการศึกษาเอาไว้ 5 ลักษณะด้วยกัน คือ
1. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น โดยอาจจะเก่ามาจากที่อื่นแต่ในสถานการณ์ ปัจจุบันนี้เป็นการเหมาะสมที่จะเอามาใช้กับการเรียนการสอนของเรา เช่น การสอนเป็นทีม การเรียนจากเครื่องช่วยสอน เป็นต้น
2. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น ทั้งที่ครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้แล้แต่ไม่บังเกิดผล เพราะสิ่งแวดล้อมไม่อำนวย ขาดนั่นขาดนี่ ต้องเลิกไป พอมาถึงเวลานี้ระบบต่างๆพร้อม จึงนำความคิดนั้นมาใช้ได้ นี่ก็ เรียกว่า “ นวัตกรรม ” หรือของใหม่ เช่น เมื่อระบบการสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะวิทยุและโทรทัศน์การศึกษาดีแล้ว การศึกษาเพื่อมวลชนจึงทำไปได้ เป็นต้น
3. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น เพราะมีสิ่งใหม่ๆ เข้ามาพร้อมๆกับความคิดที่จะกระทำอะไรบางอย่างพอดีและมองเห็นว่าการใช้สิ่งเหล่านั้นหรือวิธีการนั้น สามารถจะช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา หรือทำให้การดำเนินการทางการศึกษาไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้อย่างดี
4. ความคิดหรือการกระทำนั้นใหม่ เพราะครั้งหนึ่งเคยถูกทัศนคติของผู้ใหญ่ หรือผู้บริหารบดบังไว้ตอนนี้ เปลี่ยนผู้ใหญ่หรือผู้บริหาร หรือผู้ใหญ่หรือผู้บริหารเปลี่ยนทัศนคติไปในทางสนับสนุนการกระทำหรือความคิดนั้น จึงเป็นเรื่องใหม่ขึ้นมา
5. ความคิดหรือการกระทำใหม่ เพราะยังไม่เคยคิดและทำมาเลยในโลกนี้ เพิ่งจะมีใครคนหนึ่งคิดได้เป็นคนแรกและเห็นว่าน่าจะใช้ได้ก็เอามาใช้ เขาคนนี้ก็อาจตกที่นั่งเหมือนคนช่างทำ ในข้อ 2 และข้อ 4 ทำให้คับข้องใจได้ คนๆนี้ถ้าโชคดีหน่อย ไม่พบอุปสรรคแบบสองข้อ ดังกล่าว มีโอกาสทำได้ตามสบาย แต่ถ้าทำๆไปยิ่งบานปลาย ไม่ทราบว่าจะลงเอยแบบใด เช่นนี้ก็ไม่ผิดอะไรกับที่กัปตันประกาศให้ผู้โดยสารเครื่องบินของเขาทราบว่า “ ท่านทั้งหลายขณะนี้เครื่องของเรากำลังทำเวลาได้ดีมาก แต่ไม่ทราบว่าจะลงจอด ณ ที่ใด ”
(http ://www.kmutt.ac.th) นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
1. เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีการระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
สรุปได้ว่า “ นวัตกรรมการศึกษา ” เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตาม เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ในวงการหรือทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้ปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม หรือมุ่งจะให้งานมีประสิทธิภาพสูงก็เรียกได้ว่า เป็นนวัตกรรมของวงการนั้นๆ เช่น วงการศึกษาได้นำเอามาใช้ เรียกว่า “ นวัตกรรมทางการศึกษา ” Educational Innovation
เปรื่อง กุมุท (2542 : 15) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับลักษณะ นวัตกรรมการศึกษาเอาไว้ 5 ลักษณะด้วยกัน คือ
1. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น โดยอาจจะเก่ามาจากที่อื่นแต่ในสถานการณ์ ปัจจุบันนี้เป็นการเหมาะสมที่จะเอามาใช้กับการเรียนการสอนของเรา เช่น การสอนเป็นทีม การเรียนจากเครื่องช่วยสอน เป็นต้น
2. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น ทั้งที่ครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้แล้แต่ไม่บังเกิดผล เพราะสิ่งแวดล้อมไม่อำนวย ขาดนั่นขาดนี่ ต้องเลิกไป พอมาถึงเวลานี้ระบบต่างๆพร้อม จึงนำความคิดนั้นมาใช้ได้ นี่ก็ เรียกว่า “ นวัตกรรม ” หรือของใหม่ เช่น เมื่อระบบการสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะวิทยุและโทรทัศน์การศึกษาดีแล้ว การศึกษาเพื่อมวลชนจึงทำไปได้ เป็นต้น
3. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น เพราะมีสิ่งใหม่ๆ เข้ามาพร้อมๆกับความคิดที่จะกระทำอะไรบางอย่างพอดีและมองเห็นว่าการใช้สิ่งเหล่านั้นหรือวิธีการนั้น สามารถจะช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา หรือทำให้การดำเนินการทางการศึกษาไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้อย่างดี
4. ความคิดหรือการกระทำนั้นใหม่ เพราะครั้งหนึ่งเคยถูกทัศนคติของผู้ใหญ่ หรือผู้บริหารบดบังไว้ตอนนี้ เปลี่ยนผู้ใหญ่หรือผู้บริหาร หรือผู้ใหญ่หรือผู้บริหารเปลี่ยนทัศนคติไปในทางสนับสนุนการกระทำหรือความคิดนั้น จึงเป็นเรื่องใหม่ขึ้นมา
5. ความคิดหรือการกระทำใหม่ เพราะยังไม่เคยคิดและทำมาเลยในโลกนี้ เพิ่งจะมีใครคนหนึ่งคิดได้เป็นคนแรกและเห็นว่าน่าจะใช้ได้ก็เอามาใช้ เขาคนนี้ก็อาจตกที่นั่งเหมือนคนช่างทำ ในข้อ 2 และข้อ 4 ทำให้คับข้องใจได้ คนๆนี้ถ้าโชคดีหน่อย ไม่พบอุปสรรคแบบสองข้อ ดังกล่าว มีโอกาสทำได้ตามสบาย แต่ถ้าทำๆไปยิ่งบานปลาย ไม่ทราบว่าจะลงเอยแบบใด เช่นนี้ก็ไม่ผิดอะไรกับที่กัปตันประกาศให้ผู้โดยสารเครื่องบินของเขาทราบว่า “ ท่านทั้งหลายขณะนี้เครื่องของเรากำลังทำเวลาได้ดีมาก แต่ไม่ทราบว่าจะลงจอด ณ ที่ใด ”
(http ://www.kmutt.ac.th) นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
1. เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีการระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
สรุปได้ว่า “ นวัตกรรมการศึกษา ” เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตาม เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. นวัตกรรม คืออะไร
นวัตกรรม เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งแต่เดิมใช้คำว่า นวกรรม เป็นคำมาจากภาษาอังกฤษว่า (Innovation) แปลว่า การทำสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งใหม่ที่ทำขึ้นมา คำว่า “ นวกรรม ” มาจากคำบาลีสันสกฤต คือ นว หมายถึง ใหม่ และ กรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ทอมัส ฮิวส์ (Thomas Hughes 2542 :13) ได้ให้ความหมาย “ นวัตกรรม ” ว่า เป็นการนำสิ่งใหม่ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆแล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
มอร์ตัน (Morton,J.A. 2542 : 13) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Organizing for innovation ว่า นวัตกรรม หมายถึง การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง Renewal ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้นๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุง เสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2542 : 13) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรม ไว้ว่า หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมา หรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้ผลดีในทางปฏิบัติทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2542 : 13) ได้กล่าวถึงความหมาย นวัตกรรม ไว้ว่า แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใดๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่มากน้อยเพียงใดก็ตาม ที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่ง ซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรมได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า “ นวัตกรรม ” มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ เช่น การปลูกฝีในวงการแพทย์ การทำเหล็กกล้าในวงการอุตสาหกรรม เป็นต้น
สรุปได้ว่า นวัตกรรม คือ การนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีกรที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ได้ผลดี และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นวัตกรรม เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งแต่เดิมใช้คำว่า นวกรรม เป็นคำมาจากภาษาอังกฤษว่า (Innovation) แปลว่า การทำสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งใหม่ที่ทำขึ้นมา คำว่า “ นวกรรม ” มาจากคำบาลีสันสกฤต คือ นว หมายถึง ใหม่ และ กรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ทอมัส ฮิวส์ (Thomas Hughes 2542 :13) ได้ให้ความหมาย “ นวัตกรรม ” ว่า เป็นการนำสิ่งใหม่ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆแล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
มอร์ตัน (Morton,J.A. 2542 : 13) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Organizing for innovation ว่า นวัตกรรม หมายถึง การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง Renewal ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้นๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุง เสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2542 : 13) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรม ไว้ว่า หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมา หรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้ผลดีในทางปฏิบัติทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2542 : 13) ได้กล่าวถึงความหมาย นวัตกรรม ไว้ว่า แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใดๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่มากน้อยเพียงใดก็ตาม ที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่ง ซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรมได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า “ นวัตกรรม ” มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ เช่น การปลูกฝีในวงการแพทย์ การทำเหล็กกล้าในวงการอุตสาหกรรม เป็นต้น
สรุปได้ว่า นวัตกรรม คือ การนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีกรที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ได้ผลดี และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553
2. มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร
1.ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Thorndike)
1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) หมายถึง สภาพความพร้อมหรือวุฒิภาวะของผู้เรียนทั้งทางร่างกาย อวัยวะต่างๆ ในการเรียนรู้และจิตใจ รวมทั้งพื้นฐานและประสบการณ์เดิม สภาพความพร้อมของหู ตา ประสาทสมอง กล้ามเนื้อ ประสบการณ์เดิมที่จะเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่หรือสิ่งใหม่ ตลอดจนความสนใจ ตามเข้าใจต่อสิ่งที่เห็น ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมตามองค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเรียนรู้ได้
2. กฎแห่งการฝึก (Law of Exercise) หมายถึง การเรียนได้ฝึกหัดหรือกระทำซ้ำๆ บ่อยๆ ย่อมจะทำให้เกิดความสมบูรณ์ถูกต้อง ซึ่งกฎนี้เป็นการเน้นความมั่นคงระหว่างการเชื่อมโยง และการตอบสนองที่ถูกต้อง ย่อมนำมาเพื่อความสมบูรณ์
3. กฎแห่งความพอใจ (Law of Effect) กฎนี้เป็นผลทำให้เกิดความพอใจ กล่าวคือ เมื่ออินทรีย์ได้รับความพอใจ จะทำให้หรือสิ่งเชื่อมโยงแข็งมั่นคง ในทางกลับกันหากอินทรีย์ได้รับความไม่พอใจ จะทำให้พันธะหรือสิ่งเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองอ่อนกำลังลง หรืออาจกล่าวได้ว่า หากอินทรีย์ได้รับความพอใจจากผลการทำกิจกรรม ก็จะเกิดผลดีกับการเรียนรู้ทำให้อินทรีย์อยากเรียนรู้เพิ่มขึ้นอีก ในทางตรงข้ามหากอินทรีย์ได้รับผลไม่พอใจก็จะทำให้ไม่อยากเรียนรู้ หรือเบื่อหน่ายและเป็นผลเสียต่อการเรียนรู้
2. ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่
กาเย่ ( Gagne ) ได้เสนอหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า ไม่มีทฤษฎีหนึ่งหรือทฤษฎีใดสามารถอธิบายการเรียนรู้ของบุคคลได้สมบูรณ์ ดังนั้น กาเย่ จึงได้นำทฤษฎีการเรียนรู้แบบสิ่งเร้าและการตอบสนอง S – R Theory กับทฤษฎีความรู้ Cognitive Field Theory มาผสมผสานกันในลักษณะของการจัดลำดับการเรียนรู้ ดังนี้
1. การเรียนรู้แบบสัญญาณ Signal Learning เป็นการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไข เกิดจากความใกล้ชิดของสิ่งเร้า และการกระทำซ้ำ ผู้เรียนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเอง
2. การเรียนรู้แบบตอบสนอง S – R Learning คือ การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมนั้นได้ การตอบสนองเป็นผลจากการเสริมแรง กับโอกาสการกระทำ ซ้ำหรือฝึกฝน
3. การเรียนรู้แบบลูกโซ่ Chaining Learning คือ การเรียนรู้อันเนื่องมาจากการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองติดต่อกันเป็นกิจกรรมต่อเนื่อง โดยเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่น การขับรถ การใช้เครื่องมือ
4. การเรียนรู้ Discrimination Learning ได้แก่ การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่าง สามารถเลือกตอบสนองได้
5. การเรียนรู้แบบภาษาสัมพันธ์ Verboal Association Learning มีลักษณะเช่นเดียวกับการเรียนรู้แบบลูกโซ่ หากแต่ใช้ภาษา หรือสัญลักษณ์แทน
6. การเรียนรู้มโนทัศน์ Concept Learning ได้แก่ การเรียนรู้อันเนื่องมาจากความสามารถในการตอบสนองสิ่งต่างๆ ในลักษณะที่เป็นส่วนรวมของสิ่งนั้น เช่น วงกลม ประกอบด้วยมโนทัศน์ย่อยที่เกี่ยวกับ ส่วนโค้ง ระยะทาง ศูนย์กลาง เป็นต้น
7. การเรียนรู้กฎ (Principle Learning) เกิดจากความสามารถเชื่อมโยงมโนทัศน์เข้าด้วยกัน สามารถนำไปตั้งเป็นกฎเกณฑ์ได้
8. การเรียนรู้แบบปัญญา (Problem Solving) ได้แก่ การเรียนรู้ในระดับที่ผู้เรียนสามารถรวมกฎเกณฑ์ รู้จักแสวงหาความรู้ รู้จักสร้างสรรค์ นำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้จากลำดับ การเรียนรู้นี้แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการเรียนรู้แบบต้นๆ จะเป็นพื้นฐาน
3. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบนีโอฮิวแมนนิส
เชื่อว่าแนวคิดนี้ จะพัฒนาให้คนสมบูรณ์ โดยเน้นด้านร่างกาย จิตสำนึก จิตใต้สำนึก และจิตเหนือสำนึก นั่นคือ เด็กจะต้องมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงสวยงาม ด้วยการส่งเสริมให้ออกกำลังกาย รวมถึงการพัฒนาด้านอารมณ์ และสติปัญญาควบคู่ไปด้วย เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายความเป็นคนที่สมบูรณ์ กิจกรรมของนีโอฮิวแมนนิส จะต้องสอดคล้องกับหลัก 4 ข้อ คลื่นสมองต่ำ การประสานของเซลล์สมอง ภาพพจน์ต่อตนเอง และการให้ความรัก
4. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวอลดอร์ฟ
เน้นการศึกษา เรื่องมนุษย์และความเชื่อมโยงของมนุษย์กับโลกและจักรวาล การเชื่อมโยงทุกเรื่องกับมนุษย์ ไม่ใช่ให้มนุษย์ยึดตนเอง แต่เป็นการสอนให้มนุษย์รู้จักยืนที่สมดุลของตนในโลกมนุษย์ ปรัชญาเน้นความสำคัญของการสร้างความสมดุลใน 3 วิถีทาง คือ กายใจและสติปัญญา HAND – HEART – HEAD ของเด็กที่แตกต่างกันตามวัย ดังนั้น การศึกษาของเด็กปฐมวัยจึงยึดหลักการทำซ้ำ เด็กควรได้มีโอกาสทำสิ่งต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนการกระทำนั้นซึมลึกลงไปในกายและจิตใจจนเป็นนิสัย
5. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่
จุดเด่นของมอนเตสซอรี่ คือ การให้เด็กเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ อุปกรณ์แต่ละชิ้น การใช้เฉพาะ ทุกชิ้นผ่านการพิสูจน์แล้วว่าเด็กชอบ สนใจ และเหมาะกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของเด็ก ครอบคลุมหลักสูตรพื้นฐานสำหรับเด็กวัย 3 – 6 ปี ที่มอนเตสซอรี่กำหนดไว้ทั้ง 3 กลุ่มหลักคือ การจัดการศึกษาทางด้านทักษะกลไก การศึกษาทางด้านประสาทสัมผัส และการเตรียมสำหรับการเขียนและคณิตศาสตร์
6.ทฤษฎีการเรียนรู้แบบไฮสโคป
คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญ ในการพัฒนาเด็ก การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทำกับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์จนกระทั่ง สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบลงมือกระทำได้แก่ การเลือกและการตัดสินใจ สื่อ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ภาษาจากเด็ก และการสนับสนุนจากผู้ใหญ่
7. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบเรกจิโอ เอบีเลีย
เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่พัฒนามาจากความเชื่อที่ว่าการเรียนการสอนนั้นไม่ใช่การถ่ายโอนข้อมูลความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเด็ก ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนสนใจ และบทบาทของครูจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่สนใจได้อย่างเต็มศักยภาพของเด็ก การปฏิบัติในการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย คือ วิธีการมองเด็ก โรงเรียน ครูและเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom (Bloom’s Taxonomy)
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
- ความรู้ที่เกิดจากความจำ (Knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
- ความเข้าใจ (Comprehend)
- การประยุกต์ (Application)
- การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
- การสังเคราะห์ (Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
- การประเมินค่า (Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผล
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ (Mayor)
ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็น เป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียนรู้ โดยแบ่งออกเป็นย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน
- พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
- เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
- มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
- ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
- ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
- ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
- ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
- ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
- เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)
- ความต่อเนื่อง (Continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
- การจัดช่วงลำดับ (Sequence) หมายถึง การจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
- บูรณาการ (Integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมดของผู้เรียน ที่จะได้ใช้ประสบการณ์ต่างๆกัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
1.ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Thorndike)
1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) หมายถึง สภาพความพร้อมหรือวุฒิภาวะของผู้เรียนทั้งทางร่างกาย อวัยวะต่างๆ ในการเรียนรู้และจิตใจ รวมทั้งพื้นฐานและประสบการณ์เดิม สภาพความพร้อมของหู ตา ประสาทสมอง กล้ามเนื้อ ประสบการณ์เดิมที่จะเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่หรือสิ่งใหม่ ตลอดจนความสนใจ ตามเข้าใจต่อสิ่งที่เห็น ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมตามองค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเรียนรู้ได้
2. กฎแห่งการฝึก (Law of Exercise) หมายถึง การเรียนได้ฝึกหัดหรือกระทำซ้ำๆ บ่อยๆ ย่อมจะทำให้เกิดความสมบูรณ์ถูกต้อง ซึ่งกฎนี้เป็นการเน้นความมั่นคงระหว่างการเชื่อมโยง และการตอบสนองที่ถูกต้อง ย่อมนำมาเพื่อความสมบูรณ์
3. กฎแห่งความพอใจ (Law of Effect) กฎนี้เป็นผลทำให้เกิดความพอใจ กล่าวคือ เมื่ออินทรีย์ได้รับความพอใจ จะทำให้หรือสิ่งเชื่อมโยงแข็งมั่นคง ในทางกลับกันหากอินทรีย์ได้รับความไม่พอใจ จะทำให้พันธะหรือสิ่งเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองอ่อนกำลังลง หรืออาจกล่าวได้ว่า หากอินทรีย์ได้รับความพอใจจากผลการทำกิจกรรม ก็จะเกิดผลดีกับการเรียนรู้ทำให้อินทรีย์อยากเรียนรู้เพิ่มขึ้นอีก ในทางตรงข้ามหากอินทรีย์ได้รับผลไม่พอใจก็จะทำให้ไม่อยากเรียนรู้ หรือเบื่อหน่ายและเป็นผลเสียต่อการเรียนรู้
2. ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่
กาเย่ ( Gagne ) ได้เสนอหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า ไม่มีทฤษฎีหนึ่งหรือทฤษฎีใดสามารถอธิบายการเรียนรู้ของบุคคลได้สมบูรณ์ ดังนั้น กาเย่ จึงได้นำทฤษฎีการเรียนรู้แบบสิ่งเร้าและการตอบสนอง S – R Theory กับทฤษฎีความรู้ Cognitive Field Theory มาผสมผสานกันในลักษณะของการจัดลำดับการเรียนรู้ ดังนี้
1. การเรียนรู้แบบสัญญาณ Signal Learning เป็นการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไข เกิดจากความใกล้ชิดของสิ่งเร้า และการกระทำซ้ำ ผู้เรียนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเอง
2. การเรียนรู้แบบตอบสนอง S – R Learning คือ การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมนั้นได้ การตอบสนองเป็นผลจากการเสริมแรง กับโอกาสการกระทำ ซ้ำหรือฝึกฝน
3. การเรียนรู้แบบลูกโซ่ Chaining Learning คือ การเรียนรู้อันเนื่องมาจากการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองติดต่อกันเป็นกิจกรรมต่อเนื่อง โดยเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่น การขับรถ การใช้เครื่องมือ
4. การเรียนรู้ Discrimination Learning ได้แก่ การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่าง สามารถเลือกตอบสนองได้
5. การเรียนรู้แบบภาษาสัมพันธ์ Verboal Association Learning มีลักษณะเช่นเดียวกับการเรียนรู้แบบลูกโซ่ หากแต่ใช้ภาษา หรือสัญลักษณ์แทน
6. การเรียนรู้มโนทัศน์ Concept Learning ได้แก่ การเรียนรู้อันเนื่องมาจากความสามารถในการตอบสนองสิ่งต่างๆ ในลักษณะที่เป็นส่วนรวมของสิ่งนั้น เช่น วงกลม ประกอบด้วยมโนทัศน์ย่อยที่เกี่ยวกับ ส่วนโค้ง ระยะทาง ศูนย์กลาง เป็นต้น
7. การเรียนรู้กฎ (Principle Learning) เกิดจากความสามารถเชื่อมโยงมโนทัศน์เข้าด้วยกัน สามารถนำไปตั้งเป็นกฎเกณฑ์ได้
8. การเรียนรู้แบบปัญญา (Problem Solving) ได้แก่ การเรียนรู้ในระดับที่ผู้เรียนสามารถรวมกฎเกณฑ์ รู้จักแสวงหาความรู้ รู้จักสร้างสรรค์ นำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้จากลำดับ การเรียนรู้นี้แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการเรียนรู้แบบต้นๆ จะเป็นพื้นฐาน
3. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบนีโอฮิวแมนนิส
เชื่อว่าแนวคิดนี้ จะพัฒนาให้คนสมบูรณ์ โดยเน้นด้านร่างกาย จิตสำนึก จิตใต้สำนึก และจิตเหนือสำนึก นั่นคือ เด็กจะต้องมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงสวยงาม ด้วยการส่งเสริมให้ออกกำลังกาย รวมถึงการพัฒนาด้านอารมณ์ และสติปัญญาควบคู่ไปด้วย เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายความเป็นคนที่สมบูรณ์ กิจกรรมของนีโอฮิวแมนนิส จะต้องสอดคล้องกับหลัก 4 ข้อ คลื่นสมองต่ำ การประสานของเซลล์สมอง ภาพพจน์ต่อตนเอง และการให้ความรัก
4. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวอลดอร์ฟ
เน้นการศึกษา เรื่องมนุษย์และความเชื่อมโยงของมนุษย์กับโลกและจักรวาล การเชื่อมโยงทุกเรื่องกับมนุษย์ ไม่ใช่ให้มนุษย์ยึดตนเอง แต่เป็นการสอนให้มนุษย์รู้จักยืนที่สมดุลของตนในโลกมนุษย์ ปรัชญาเน้นความสำคัญของการสร้างความสมดุลใน 3 วิถีทาง คือ กายใจและสติปัญญา HAND – HEART – HEAD ของเด็กที่แตกต่างกันตามวัย ดังนั้น การศึกษาของเด็กปฐมวัยจึงยึดหลักการทำซ้ำ เด็กควรได้มีโอกาสทำสิ่งต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนการกระทำนั้นซึมลึกลงไปในกายและจิตใจจนเป็นนิสัย
5. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่
จุดเด่นของมอนเตสซอรี่ คือ การให้เด็กเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ อุปกรณ์แต่ละชิ้น การใช้เฉพาะ ทุกชิ้นผ่านการพิสูจน์แล้วว่าเด็กชอบ สนใจ และเหมาะกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของเด็ก ครอบคลุมหลักสูตรพื้นฐานสำหรับเด็กวัย 3 – 6 ปี ที่มอนเตสซอรี่กำหนดไว้ทั้ง 3 กลุ่มหลักคือ การจัดการศึกษาทางด้านทักษะกลไก การศึกษาทางด้านประสาทสัมผัส และการเตรียมสำหรับการเขียนและคณิตศาสตร์
6.ทฤษฎีการเรียนรู้แบบไฮสโคป
คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญ ในการพัฒนาเด็ก การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทำกับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์จนกระทั่ง สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบลงมือกระทำได้แก่ การเลือกและการตัดสินใจ สื่อ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ภาษาจากเด็ก และการสนับสนุนจากผู้ใหญ่
7. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบเรกจิโอ เอบีเลีย
เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่พัฒนามาจากความเชื่อที่ว่าการเรียนการสอนนั้นไม่ใช่การถ่ายโอนข้อมูลความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเด็ก ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนสนใจ และบทบาทของครูจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่สนใจได้อย่างเต็มศักยภาพของเด็ก การปฏิบัติในการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย คือ วิธีการมองเด็ก โรงเรียน ครูและเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom (Bloom’s Taxonomy)
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
- ความรู้ที่เกิดจากความจำ (Knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
- ความเข้าใจ (Comprehend)
- การประยุกต์ (Application)
- การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
- การสังเคราะห์ (Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
- การประเมินค่า (Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผล
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ (Mayor)
ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็น เป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียนรู้ โดยแบ่งออกเป็นย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน
- พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
- เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
- มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
- ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
- ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
- ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
- ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
- ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
- เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)
- ความต่อเนื่อง (Continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
- การจัดช่วงลำดับ (Sequence) หมายถึง การจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
- บูรณาการ (Integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมดของผู้เรียน ที่จะได้ใช้ประสบการณ์ต่างๆกัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553
1. ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร
(2551 : 475) ทฤษฎีการเรียนรู้ Learning Theoryหมายถึง ข้อความรู้ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบตามกระบวนการต่างๆทางวิทยาศาสตร์และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ และสามารถนำไปนิรนัยเป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อยๆ หรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ ทฤษฎีโดยทั่วไปมักประกอบด้วยหลักการย่อยๆหลายหลักการ
(http://th.wikipedia.org/wiki.) ได้สรุปว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ learning theory การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไขและสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
สาโรช บัวศรี (2539:43) ได้สรุปว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นแนวความคิดที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถใช้อธิบายลักษณะของการเกิดการเรียนรู้ หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ และการสอนก็คือ แนวคิดที่เป็นหลักของการปฏิบัติทางการสอนก็สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ แนวคิดทั้งหลายทั้งทางด้านจริยธรรมและพฤติกรรมดังกล่าว เป็นพื้นฐานที่สำคัญของทฤษฎีและหลักการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้
1. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้และหลักการสอนในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มจิตนิยมหรือกลุ่มเน้นการฝึกจิต หรือสมอง (Mental Disciplime)
2. ทฤษฎีเกี่ยวกับ การเรียนรู้และหลักการสอนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) กลุ่มพุทธินิยมหรือความรู้ความเข้าใจ (Gognitivism)กลุ่มมนุษยนิยม(Humavism)และกลุ่มผสมผสาน (Eclecticism)
สรุปได้ว่า จากทฤษฎีการเรียนรู้ที่กล่าวมา ยังมีทฤษฎีการเรียนรู้อีก เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทฤษฎีการเรียนรู้การสร้างความรู้ด้วยตนเอง ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม เป็นต้น
ทฤษฎีการเรียนรู้ หมายถึง ความรู้ ความคิด ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ครูนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น
(2551 : 475) ทฤษฎีการเรียนรู้ Learning Theoryหมายถึง ข้อความรู้ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบตามกระบวนการต่างๆทางวิทยาศาสตร์และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ และสามารถนำไปนิรนัยเป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อยๆ หรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ ทฤษฎีโดยทั่วไปมักประกอบด้วยหลักการย่อยๆหลายหลักการ
(http://th.wikipedia.org/wiki.) ได้สรุปว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ learning theory การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไขและสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
สาโรช บัวศรี (2539:43) ได้สรุปว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นแนวความคิดที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถใช้อธิบายลักษณะของการเกิดการเรียนรู้ หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ และการสอนก็คือ แนวคิดที่เป็นหลักของการปฏิบัติทางการสอนก็สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ แนวคิดทั้งหลายทั้งทางด้านจริยธรรมและพฤติกรรมดังกล่าว เป็นพื้นฐานที่สำคัญของทฤษฎีและหลักการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้
1. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้และหลักการสอนในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มจิตนิยมหรือกลุ่มเน้นการฝึกจิต หรือสมอง (Mental Disciplime)
2. ทฤษฎีเกี่ยวกับ การเรียนรู้และหลักการสอนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) กลุ่มพุทธินิยมหรือความรู้ความเข้าใจ (Gognitivism)กลุ่มมนุษยนิยม(Humavism)และกลุ่มผสมผสาน (Eclecticism)
สรุปได้ว่า จากทฤษฎีการเรียนรู้ที่กล่าวมา ยังมีทฤษฎีการเรียนรู้อีก เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทฤษฎีการเรียนรู้การสร้างความรู้ด้วยตนเอง ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม เป็นต้น
ทฤษฎีการเรียนรู้ หมายถึง ความรู้ ความคิด ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ครูนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)