วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

1. ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร

(2551 : 475) ทฤษฎีการเรียนรู้ Learning Theoryหมายถึง ข้อความรู้ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบตามกระบวนการต่างๆทางวิทยาศาสตร์และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ และสามารถนำไปนิรนัยเป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อยๆ หรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ ทฤษฎีโดยทั่วไปมักประกอบด้วยหลักการย่อยๆหลายหลักการ
(http://th.wikipedia.org/wiki.) ได้สรุปว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ learning theory การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไขและสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
สาโรช บัวศรี (2539:43) ได้สรุปว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นแนวความคิดที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถใช้อธิบายลักษณะของการเกิดการเรียนรู้ หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ และการสอนก็คือ แนวคิดที่เป็นหลักของการปฏิบัติทางการสอนก็สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ แนวคิดทั้งหลายทั้งทางด้านจริยธรรมและพฤติกรรมดังกล่าว เป็นพื้นฐานที่สำคัญของทฤษฎีและหลักการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้
1. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้และหลักการสอนในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มจิตนิยมหรือกลุ่มเน้นการฝึกจิต หรือสมอง (Mental Disciplime)
2. ทฤษฎีเกี่ยวกับ การเรียนรู้และหลักการสอนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) กลุ่มพุทธินิยมหรือความรู้ความเข้าใจ (Gognitivism)กลุ่มมนุษยนิยม(Humavism)และกลุ่มผสมผสาน (Eclecticism)


สรุปได้ว่า จากทฤษฎีการเรียนรู้ที่กล่าวมา ยังมีทฤษฎีการเรียนรู้อีก เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทฤษฎีการเรียนรู้การสร้างความรู้ด้วยตนเอง ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม เป็นต้น
ทฤษฎีการเรียนรู้ หมายถึง ความรู้ ความคิด ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ครูนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น