4. นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร
ในวงการหรือทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้ปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม หรือมุ่งจะให้งานมีประสิทธิภาพสูงก็เรียกได้ว่า เป็นนวัตกรรมของวงการนั้นๆ เช่น วงการศึกษาได้นำเอามาใช้ เรียกว่า “ นวัตกรรมทางการศึกษา ” Educational Innovation
เปรื่อง กุมุท (2542 : 15) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับลักษณะ นวัตกรรมการศึกษาเอาไว้ 5 ลักษณะด้วยกัน คือ
1. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น โดยอาจจะเก่ามาจากที่อื่นแต่ในสถานการณ์ ปัจจุบันนี้เป็นการเหมาะสมที่จะเอามาใช้กับการเรียนการสอนของเรา เช่น การสอนเป็นทีม การเรียนจากเครื่องช่วยสอน เป็นต้น
2. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น ทั้งที่ครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้แล้แต่ไม่บังเกิดผล เพราะสิ่งแวดล้อมไม่อำนวย ขาดนั่นขาดนี่ ต้องเลิกไป พอมาถึงเวลานี้ระบบต่างๆพร้อม จึงนำความคิดนั้นมาใช้ได้ นี่ก็ เรียกว่า “ นวัตกรรม ” หรือของใหม่ เช่น เมื่อระบบการสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะวิทยุและโทรทัศน์การศึกษาดีแล้ว การศึกษาเพื่อมวลชนจึงทำไปได้ เป็นต้น
3. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น เพราะมีสิ่งใหม่ๆ เข้ามาพร้อมๆกับความคิดที่จะกระทำอะไรบางอย่างพอดีและมองเห็นว่าการใช้สิ่งเหล่านั้นหรือวิธีการนั้น สามารถจะช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา หรือทำให้การดำเนินการทางการศึกษาไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้อย่างดี
4. ความคิดหรือการกระทำนั้นใหม่ เพราะครั้งหนึ่งเคยถูกทัศนคติของผู้ใหญ่ หรือผู้บริหารบดบังไว้ตอนนี้ เปลี่ยนผู้ใหญ่หรือผู้บริหาร หรือผู้ใหญ่หรือผู้บริหารเปลี่ยนทัศนคติไปในทางสนับสนุนการกระทำหรือความคิดนั้น จึงเป็นเรื่องใหม่ขึ้นมา
5. ความคิดหรือการกระทำใหม่ เพราะยังไม่เคยคิดและทำมาเลยในโลกนี้ เพิ่งจะมีใครคนหนึ่งคิดได้เป็นคนแรกและเห็นว่าน่าจะใช้ได้ก็เอามาใช้ เขาคนนี้ก็อาจตกที่นั่งเหมือนคนช่างทำ ในข้อ 2 และข้อ 4 ทำให้คับข้องใจได้ คนๆนี้ถ้าโชคดีหน่อย ไม่พบอุปสรรคแบบสองข้อ ดังกล่าว มีโอกาสทำได้ตามสบาย แต่ถ้าทำๆไปยิ่งบานปลาย ไม่ทราบว่าจะลงเอยแบบใด เช่นนี้ก็ไม่ผิดอะไรกับที่กัปตันประกาศให้ผู้โดยสารเครื่องบินของเขาทราบว่า “ ท่านทั้งหลายขณะนี้เครื่องของเรากำลังทำเวลาได้ดีมาก แต่ไม่ทราบว่าจะลงจอด ณ ที่ใด ”
(http ://www.kmutt.ac.th) นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
1. เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีการระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
สรุปได้ว่า “ นวัตกรรมการศึกษา ” เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตาม เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น